วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2551

activity

สมัครสมาชิก




ยืม-สืบค้นหนังสือ




คืนหนังสือ




คำนวณค่าปรับ


class

วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2551

Usecase

วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2551

DFD: Dataflow Diagram




วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2551

บทที่ 2

2.1 ศึกษาปัญหาของระบบ
        จากการที่ได้วิเคราะห์ปัญหาของห้องสมุดสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป. พบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมีดังนี้
           1. การสืบค้นข้อมูลหนังสือค่อนข้างลำบาก ต้องค้นหาจากตู้หนังสือเอง โดยที่ผู้มาใช้บริการไม่สามารถรู้ได้เลยว่าหนังสือเล่มที่ต้องการหานั้นมีหรือไม่
           2. การยืมคืนหนังสือแต่ละครั้งค่อนข้างล่าช้า เนื่องจากต้องบันทึกการยืมคืนโดยลงสมุดทะเบียนของหนังสือที่ใช้เป็นหลักฐานในการยืมคืน, บันทึกลงใบทะเบียนของหนังสือและบันทึกลงในสมุดสมาชิกของผู้ชม ซึ่งค่อนข้างล่าช้า
           3. การคำนวณค่าปรับมักเกิดข้อผิดพลาดบ่อยครั้ง เนื่องจากคำนวณค่าปรับผิดพลาด
           4. การรายงานสถิติของหนังสือผิดพลาดบ่อย เนื่องจากการรายงานแต่ละครั้งต้องนำข้อมูลหนังสือที่ทำการบันทึกไว้ในสมุดคุมหนังสือนำไปพิมพ์เพื่อส่งไปยังผู้อำนวยการสำนัก และการรายงานแต่ละครั้งล่าช้า และมักจะรายงานข้อมูลไม่ครบถ้วน
           . เสียค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อบัตรทะเบียน และต้องทำบัตรสมาชิกอยู่บ่อย ๆ
2.2 เสนอแนวทางแก้ปัญหา
              แนวทางที่ 1 จัดซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จรูป showsita libraly2006 เข้ามาใช้ในการทำงาน เพื่อช่วยในการสืบค้น ยืมคืน จัดเก็บข้อมูลลงหนังสือ สรุปรายงาน และคำนวณค่าปรับ และยังประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อบัตรทะเบียนหนังสือ
              แนวทางที่ 2 ใช้โปรแกรม Access มาพัฒนาระบบในห้องสมุด เพื่อช่วยช่วยในการสืบค้น ยืมคืน จัดเก็บข้อมูลลงหนังสือ สรุปรายงาน และคำนวณค่าปรับ และยังประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อบัตรทะเบียนหนังสือ
              แนวทางที่ 3 พัฒนาระบบห้องสมุด ด้วย PHP5 และใช้ฐานข้อมูล MySQL6 เข้ามาในการสืบค้น ยืมคืน จัดเก็บข้อมูลลงหนังสือ สรุปรายงาน และคำนวณค่าปรับ และยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อบัตรทะเบียนหนังสือ


2.3 ประเมินแนวทางที่เสนอ
           2.3.1 ความเหมาะสมทางด้านเทคโนโลยี (Technically Feasible)
                แนวทางที่ 1
                  ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป showsita libraly2006 มีความเหมาะสมทางด้านเทคโนโลยี เพราะระบบสามารถจัดการกับระบบการยืมคืน การสืบค้น การคำนวณค่าปรับ และการรายงานไว้ให้แล้ว
                แนวทางที่ 2
                  ใช้โปรแกรมด Access มาจัดการระบบการยืมคืน การสืบค้น การคำนวณค่าปรับ และการรายงานได้
                แนวทางที่ 3
                นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการจัดการกับระบบ โดยการเขียนโปรแกรมห้องสมุดขึ้นมาด้วย PHP 5 และใช้ฐานข้อมูล MySQL มาจัดการกับปัญหาการยืมคืน การสืบค้น การคำนวณค่าปรับ และการรายงาน

           2.3.2 ความเหมาะสมด้านการปฏิบัติงาน
                แนวทางที่ 1
                   ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป showsita libraly2006 มีความเหมาะสมด้านการปฏิบัติการพร้อมทั้งมีคู่มือการใช้งานให้ ติดตั้งง่าย และเป็นที่ยอมรับ
                แนวทางที่ 2
                   ใช้โปรแกรม Access ในการเขียนเป็นฐานข้อมูลของระบบการยืม-คืนหนังสือการสืบค้น การคำนวณค่าปรับ และการรายงาน
                แนวทางที่ 3
                   พัฒนาระบบโดยใช้ PHP5 และใช้ฐานข้อมูล MySQL มาพัฒนาระบบตามความต้องการของระบบ รวมถึงในการแก้ไขระบบสามารถทำได้สะดวกและรวดเร็วในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
           2.3.3 ความเหมาะสมทางด้านการลงทุน
             2.3.3.1 ประมาณต้นทุนกำไร


ตารางที่ 2.1 ประมาณต้นทุนกำไร




              2.3.3.2 การประมาณค่าใช้จ่ายเนื้อหาสำหรับแนวทางต่าง ๆ

ตารางที่ 2.2 ประมาณค่าใช้จ่ายเนื้อหาสำหรับแนวทางต่าง ๆ




              2.3.3.3 วิเคราะห์มูลค่าปัจจุบัน
              1) วิเคราะห์มูลค่าปัจจุบันของแนวทางที่ 1

ตาราง 2.3 วิเคราะห์มูลค่าปัจจุบันของแนวทางที่ 1






              2) วิเคราะห์มูลค่าปัจจุบันของแนวทางที่ 2
ตาราง 2.4 วิเคราะห์มูลค่าปัจจุบันของแนวทางที่ 2





              3) วิเคราะห์มูลค่าปัจจุบันของแนวทางที่ 3
ตาราง 2.5 วิเคราะห์มูลค่าปัจจุบันของแนวทางที่ 3





              2.3.3.4 วิเคราะห์ระยะเวลาในการคืนทุน
                 แนวทางที่ 1 ระยะเวลาการคืนทุนปีที่ 5
                 แนวทางที่ 2 ระยะเวลาการคืนทุนปีที่ 3
                 แนวทางที่ 3 ระยะเวลาการคืนทุนปีที่ 2


2.4 เลือกแนวทางที่เหมาะสมที่สุด


              เนื่องจากแนวทางทั้ง 3 แบบ เป็นแนวทางที่เหมาะสมทั้งในด้านเทคโนโลยีด้านการปฏิบัติ และด้านการลงทุน แต่เมื่อพิจารณาด้านการใช้งานแนวทางที่ 1 มีข้อจำกัดในการใช้งานทางด้านซอฟต์แวร์ เนื่องจากเป็นซอฟต์แวร์ที่ซื้อมาติดตั้ง จึงไม่มีการอบรมวิธีการใช้ ต้องศึกษาวิธีการใช้จากคู่มือเอง และงบประมาณที่ใช้สูงพอสมควร ระยะเวลาการคืนทุนจะอยู่ในปีที่ 5 , แนวทางที่ 2 และ แนวทางที่ 3 เป็นแนวทางที่ดีทั้งด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ รวมถึงการอบรมการใช้งานให้กับเจ้าหน้าที่ด้วย แต่แนวทางที่ 2 มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง และระยะเวลาการคืนทุนอยู่ที่ปีที่ 3 ซึ่งมากกว่าแนวทางที่ 3 และแนวทางที่ 3 คืนทุนอยู่ที่ปีที่ 2 ดังนั้น แนวทางที่ 3 จึงเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุดในการพัฒนาระบบห้องสมุดของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป.

วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2551

บทที่ 1


1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
        สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป. เป็นหน่วยงานที่ดำเนินงานทางด้านการศึกษา อยู่ภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ มีพันธกิจในการจัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์ เป้าหมายการให้บริการ แผนงบประมาณ และแผนปฏิบัติราชการ วิจัย ติดตามและรายงานของกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รวมถึงมีการเร่งรัด ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และประมวลผลข้อมูลดัชนีทางการศึกษาในการพัฒนาความรู้ เพื่อกำหนดนโยบายการวางแผนและติดตามประเมินผล และจากการทำงานข้างต้น ทำให้สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์มีเอกสารที่สำคัญ ๆ ออกมาเผยแพร่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเอกสารเหล่านี้ได้ส่งไปยังหน่วยงานราชการต่าง ๆ ห้องสมุดทั่วประเทศ และบางส่วนเก็บไว้ที่ห้องสมุดของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป. เองด้วย และในแต่ละปีหนังสือที่ผลิตออกมาก็ทวีคูณเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ รวมทั้งยังมีการจัดหาหนังสือประเภทต่าง ๆ เพิ่มเข้ามามากขึ้น ซึ่งหนังสือเหล่านี้ถูกจัดเก็บไว้ในห้องสมุดเพื่อให้บริการแก่ข้าราชการและลูกจ้างของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ซึ่งหนังสือที่มีให้บริการมีหลายหมวดได้แก่ หมวดงานวิจัย หมวดรายงานประจำปี หมวดคอมพิวเตอร์ หมวดประวัติศาสตร์ หมวดบริหารจัดการ หมวดภาษา หมวดกฎหมาย หมวดงบประมาณ หมวดพระราชกรณียกิจ รวมถึงหมวดอ้างอิง ซึ่งจะมีหนังสือนวนิยาย เรื่องสั้น เรื่องแปลฯลฯ มีไว้ให้บริการแก่ผู้ใช้บริการทั่วไป


        ปัจจุบันหนังสือเหล่านี้ที่จัดเก็บไว้ตามหมวด ไม่เป็นระเบียบเท่าที่ควร ระบบการยืมคืนยังคงเป็นแบบเก่า คือ ใช้วิธีการเขียนใส่ในบัตรสมาชิก และเขียนรายการยืม-คืนไว้ในนั้น เวลายืมเจ้าหน้าที่ก็จะรายละเอียดในสมุดสมาชิกที่นำมาด้วย และดึงบัตรทะเบียนหนังสือด้านหลังหนังสือเก็บไว้ พร้อมทั้งเขียนชื่อผู้ยืม วันยืม และวันคืนไว้ที่บัตรทะเบียนหนังสือ ทำให้เสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อบัตรทะเบียน และต้องทำบัตรสมาชิกอยู่บ่อย ๆ และบ่อยครั้งที่บัตรสมาชิกหาย ทางเจ้าหน้าที่ไม่มีการเก็บข้อมูลของสมาชิกสำรองไว้ ทำให้ต้องทำบัตรใหม่อยู่เรื่อย ๆ


        การพัฒนาระบบโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาพัฒนาระบบห้องสมุดอิเล็คทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการจัดการฐานข้อมูลของห้องสมุดอิเล็คทรอนิกส์การประมวลผลทำได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว เพิ่มความถูกต้อง ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล มีการบริการแนะนำหนังสือใหม่ผ่านเว็บไซต์ และมีระบบสมาชิกให้ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถประหยัดงบประมาณให้กับสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป.ได้อีกด้วย


2. วัตถุประสงค์

        2.1 เพื่อพัฒนาระบบการจัดเก็บ การยืม-คืน หนังสือ ในห้องสมุดของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป.
        2.2 พัฒนาระบบสมาชิก เพื่อให้สมาชิกสามารถสืบค้นข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

3. ขอบเขตของโครงงาน

        ระบบการจัดเก็บ และการยืม-คืน ของห้องสมุด และการสืบค้นข้อมูลหนังสือผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยโปรแกรมจะติดตั้งไว้บนเครื่องที่มีระบบปฏิบัติ Windows รายละเอียดโปรแกรมแบ่งเป็น


          3.1 ส่วนผู้ดูแลระบบ (Administrator)
                 3.1.1 กำหนดสิทธิ์ให้เจ้าหน้าที่
                 3.1.2 กำหนดสิทธิ์ให้กับสมาชิก
                 3.1.3 กำหนดประเภทหนังสือ
          3.2 ส่วนของเจ้าหน้าที่ (Officer)
                 3.2.1 เพิ่ม-ลบ ข้อมูลหนังสือ
                 3.2.2 ดำเนินการยืม-คืน คำนวณค่าปรับ
                 3.2.3 เพิ่ม-ลบ-แก้ไข ข้อมูลของสมาชิก
                 3.2.4 ออกบัตรสมาชิกให้กับผู้มาสมัครสมาชิก
          3.3 การออกสถิติ และรายงาน
                 3.3.1 รายงานการตรวจสอบหนังสือประจำปี
                 3.3.2 รายงานการตรวจสอบหนังสือสูญหาย (รายงานทุก ๆ สิ้นเดือน)
                 3.3.3 รายงานการยืม-คืน ของสมาชิกแต่ละครั้ง
                 3.3.4 รายงานการทวงหนังสือ (รายงานทุกสัปดาห์)
                 3.3.5 รายงานสมาชิก (สถิติการใช้บริการ)
          3.4 การบริการผู้ใช้ทั่วไป
                 3.4.1 สืบค้น ข้อมูลหนังสือ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                 3.4.2 ตรวจสอบสถานะการยืม
          3.5 ขอบเขตด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ใช้ในส่วนของ (Client/Server)
                 3.5.1 ขอบเขตด้านฮาร์แวร์ ทั้งส่วนรับและให้บริการ (Client/Server)
                 3.5.2 หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) แบบ Intel Pentium 4
                 3.5.3 หน่วยความจำหลัก (RAM) มีความจุ 512 MB
                 3.5.4 ฮาร์ดดิสก์ 40 GB
                 3.5.5 ขอบเขตด้านซอฟต์แวร์ ทั้งส่วนรับและให้บริการ
                   3.5.5.1 ระบบปฏิบัติการ คือ Windows xp Professional (Client)
                   3.5.5.2 ระบบปฏิบัติการ คือ Windows 2003 Server (Server)
                   3.5.5.3 ระบบการจัดการฐานข้อมูล My SQL 2005
                   3.5.5.4 เครื่องมือที่ใช้พัฒนาใช้ PHP



4.ขั้นตอนการดำเนินงาน













5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ


        5.1 เป็นระบบที่ช่วยเพิ่มความสะดวก รวดเร็วให้กับเจ้าหน้าที่และผู้ใช้บริการ ของห้องสมุด สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป.ได้
        5.2 เป็นระบบที่ช่วยจัดการกับข้อมูลของสมาชิก ของห้องสมุด สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป.ได้
        5.3 ช่วยลดงบประมาณในการจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ ของระบบเก่า